สิบสุดยอดชาจีนอันเลื่องชื่อ : จวินซานหยินเจิน ชาจวินซานหยินเจินเป็นหนึ่งในสิบสุดยอดชาจีนอันเลื่องชื่อ มีแหล่งผลิตอยู่บนเกาะ จวินซาน ในทะเลสาบต้งถิง มณฑลหูหนาน จัดอยู่ในตระกูลชาเหลืองที่ใบชามีรูปร่างเหมือนเข็ม ได้รับสมญานามว่า “หยกเลี่ยมทอง” ชาจวินซานนั้น แรกเริ่มถูกจัดให้เป็นเครื่องบรรณาการในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ชิง ด้วยเหตุที่ว่ายอดอ่อนของใบชาเป็นเส้นตรง เต็มไปด้วยขนอ่อนสีขาว ทำให้ดูมีลักษณะเหมือนเข็มเงิน(หยินเจิน) จึงได้เรียกชานี้ว่า “ชาจวินซานหยินเจิน” (ชาเข็มเงินแห่งเมืองจวินซาน) เมืองจวินซานนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้งถิงซาน ผืนดินบนเกาะอุดมไปด้วยสารอาหาร โดยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินปนทราย ภูมิอากาศมีความชุ่มชื้นสูง เป็นระบบนิเวศน์ที่เหมาะแก่การปลูกต้นชาเป็นอย่างยิ่ง ชาจวินซานหยินเจินจะเริ่มเก็บได้ก่อนวันเทศกาลเชงเม้งประมาณ 3 – 4 วัน เป็นการผลิตชาฤดูใบไม้ผลิจากชายอดอ่อนชุดแรก โดยกรรมวิธีที่พิถีพิถัน ลักษณะของใบชาจะเป็นเส้นตรง เต็มไปด้วยขนสีขาวดุจขนนก ก้านอ่อนมีสีเหลืองทองเป็นประกาย เมื่อชงชา ยอดอ่อนจะลอยตั้งเป็นแนวดิ่งอยู่ในน้ำ ค่อย ๆ จมลงไปแล้วลอยขึ้นมาใหม่อย่างช้า ๆ ประเดี๋ยวจมประเดี๋ยวลอย เป็นภาพที่น่ามองยิ่งนัก อีกทั้งสีของน้ำชาก็ใสสะอาด รสชาติหวานล้ำลึก เก็บไว้ได้นานโดยไม่เสียรสชาติ
Tag Archives: ลดน้ำหนัก
ชาอู่อี๋ต้าหงเผาเป็นเสมือนเพชรน้ำงามในบรรดาชาที่มีชื่อของจีน ได้รับสมญาว่าเป็น “ชาจองหงวน” ชาต้าหงเผาจัดว่าเป็นราชาของชาเหยียน (ชาเหยียน=ชาผาหิน เป็นชาที่ขึ้นอยู่บนผาหิน) ได้รับการขนามนามว่าเป็น “ราชาแห่งชาเหยียน” ถือว่าเป็นสัมบัติอันล้ำค่าของประเทศชาติ ต้นแม่พันธุ์ของชาต้าหงเผาได้ถูกค้นพบและถูกเก็บใบชาเพื่อนำมาผลิตตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง จนถึงทุกวันนี้มีประวัติความเป็นมาถึง 350 ปีแล้ว ชื่อเสียงที่มีมานานเป็นร้อยๆปี ทำให้เกิดมีตำนานเรื่องเล่าขานอยู่มากมาย และยังถ่ายทอดไปอย่างกว้างขวาง เขาอู่อี๋ซานตั้งอยู่ในบริเวณแถบตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอู่อี๋ซานมณฑลฝูเจี้ยน ชาต้าหงเผาต้นแม่พันธุ์นั้นขึ้นอยู่บนหน้าผาหินในหลืบเขาเทียนซินจิ่วหลงบนเขาอู่อี๋ซาน มีผาหินขนาบข้างทั้งสองด้าน แสงอาทิตย์ส่องถึงน้อย ความชื้นเหมาะสม มีสายน้ำไหลรินให้ความชุมชื้นแก่ต้นชาตลอดทั้งปี อีกทั้งได้สารอาหารจากใบไม้แห้งและพืชจำพวกตะไคร่ต่างๆที่เน่าทับถมกัน ผืนดินเต็มไปด้วยแหล่งอาหารบำรุงให้แก่ต้นชา ชาต้าหงเผาจึงมีต้นทุนอันเป็นพิเศษซึ่งธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้ให้ ทำให้ชามีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และมีคุณภาพเลิศล้ำ การเก็บชาต้าหงเผาในสมัยก่อน จะต้องมีพิธีการจุดธูปบูชา สวดมนต์ และใช้เครื่องมือที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ และมีช่างทำชาเป็นผู้ผลิต ในช่วงต้นของยุคการปลดปล่อย การเก็บและผลิตใบชาต้าหงเผาถูกควบคุมดูแลโดยทหาร ขั้นตอนในการผลิตทุกขั้นตอนมีผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องเซ็นต์ชื่อกำกับทุกครั้งหลังชั่งน้ำหนัก สุดท้ายเมื่อปิดผนึกแล้วจะมีเจ้าหน้าที่เฉพาะทำหน้าที่ส่งใบชาไปยังที่ทำการรัฐบาลในท้องถิ่นนั้นๆ ในปัจจุบัน การดูแลจัดการ การเก็บเกี่ยวและการผลิตใบชาจากชาต้าหงเผาต้นแม่พันธุ์นั้น เทศบาลประจำเมืองได้กำหนดและมอบหมายให้สถาบันวิจัยใบชาแห่งบริษัทชาเหยียนเป็นผู้จัดการและดำเนินการผลิต ชาหงเผาของอู่อี๋ซานมีลักษณะเป็นเส้นยาวและขมวดแน่น สีเขียวอมน้ำตาลมันวาวสดใส น้ำชาที่ชงได้มีสีส้มอมเหลืองใสเป็นประกาย ใบชาสีเขียวแดงสลับกัน สามารถสัมผัสถึงความงามของ “ใบเขียวเลี่ยมขอบแดง”ได้อย่างแจ่มชัด คุณภาพอันโดดเด่นของชาต้าหงเผาก็คือกลิ่นหอมกรุ่นจรุงใจ กลิ่นหอมหวลและคงความหอมอยู่ได้นาน รสชาติละมุนละไม ดื่มแล้วยังคงเหลือความหอมไว้ทั่วปาก เป็น “เสน่ห์แห่งหินผา” อย่างแท้จริง และเมื่อเปรียบเทียบกับชาชนิดอื่นๆแล้ว […]
วัฒนธรรมการดื่มชาหมายรวมถึงการชงชา การชมชา การดมชา การดื่มชา และการชิมชา โดยผ่านการพัฒนาและปรับปรุงกันมาอย่างไม่หยุดยั้ง กระทั่งเกิดเป็นความเคยชินชนิดหนึ่ง ความเคยชินชนิดนี้ได้ค่อยๆก่อตัวขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมของจีน วัฒนธรรมการดื่มชานั้นมีชาเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ เป็นการหลอมรวมกันระหว่างชากับวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน วัฒนธรรมการดื่มชาก็ยังเป็นการผนวกศิลปะการชงชาเข้ากับจิตใจ อีกทั้งยังสามารถแสดงถึงความรู้สึกทางจิตวิญญาณผ่านศิลปะการชงชาได้ พิธีชงชาจึงประหนึ่งเป็นการหลอมรวมที่เข้ากันได้อย่างงดงามระหว่างศิลปะการชงชากับจิตใจ เราสามารถแสดงออกถึงมารยาท อุปนิสัยใจคอ ท่วงทำนองความคิด มุมมองทางสุนทรียศาสตร์ และมโนคติผ่านวิถีการชิมชาได้ พิธีการชงชาของจีน ให้ความสำคัญและพิถีพิถันกับความงดงามทั้ง 5 อย่างอันได้แก่ ใบชา น้ำชา ความแรงของไฟ เครื่องมือชงชา และสภาพแวดล้อม รูปแบบเฉพาะที่แสดงให้เห็นถึงพิธีชงชาของจีนมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1. การชงชา: การนำผงชาใส่ลงไปในกาชาแล้วต้มด้วยน้ำร้อน การชงชาในสมัยราชวงศ์ถังเป็นศิลปะการชงชาที่มีรูปแบบที่ละเอียดลออและเก่าแก่ที่สุด 2.การประลองชา:ปัญญาชนในสมัยโบราณนิยมนำชาและน้ำติดตัวมาเอง การประลองชาเป็นศิลปะการชิมชาอย่างหนึ่งที่แข่งขันกันด้วยลักษณะของใบชา สีของน้ำชาและรสชาติของน้ำชาเพื่อตัดสินว่าชานั้นดีหรือเลว การประลองชายังเรียกกันอีกอย่างว่าสงครามชา เริ่มมีขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์ถัง และรุ่งเรืองที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง เริ่มแรกเป็นที่นิยมมากในแถบเจี้ยนโจวมณฑลฝูเจี้ยน การประลองชาถือได้ว่าเป็นรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการชิมชาขั้นสูงสุด 3.ชากังฟู:วิธีการชิมและชงชาแบบโบราณหรือที่เรียกว่าชากังฟูอันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ชิงจนถึงปัจจุบันในบางพื้นที่นั้น เป็นศิลปะการชงชาที่ยังคงหลงเหลือมาจากสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง ในสมัยราชวงศ์ชิง ชากังฟูเป็นที่นิยมแพร่หลายในเมืองทิงโจว จางโจว ฉวนโจวของมณฑลฝูเจี้ยน และเมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) ของมณฑลกวางตุ้ง ชากังฟูเน้นวิธีการชงและชิมชาที่ประณีตพิถีพิถัน
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 120,000 ไร่โดยปลูกมากที่สุดในเขตจังหวัดเชียงราย สายพันธุ์ ชาหลักที่ปลูกได้แก่ ชาสายพันธุ์อัสลัม และชาสายพันธ์จีน ผลผลิตที่ได้จะถูกนำไปแปรรูปในโรงงานที่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ปลูก การแปรรูปจากใบชาสดเป็นผลิตภัณฑ์ชาแห้งนั้น จังหวัดเชียงรายมีโรงงานชาที่ สามารถผลิตชาได้สองรูปแบบหลักคือ การผลิตชาอูหลง และการผลิตชาเขียว ซึ่งการผลิตทั้งสองรูปแบบนี้ จะอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญการผลิต การลงทุนเครื่องจักร และความต้องการของตลาดในขณะนั้น การผลิตชาในรูปแบบเดิมนั้นผลผลิตชาที่ได้จะได้ผลิตภัณฑ์ชาเขียวที่มี ลักษณะเป็นเส้น และชาอูหลงที่มีลักษณะม้วนตัวเป็นก้อนเล็กๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะลูกนำบรรจุในบรรจุภัณฑ์ รูปแบบต่างๆ เพื่อขายปลีกและขายส่ง ตลาดชาในปัจจุบันมีทั้งชาภายในประเทศและต่างประเทศ ชาเชียงรายเป็นที่นิยมของตลาดในกลุ่มผู้บริโภคต่างประเทศเช่นไต้หวันเนื่องจากชาเชียงรายมีรสชาติชาที่เป็นเลิศไม่แพ้ชาจากแหล่งผลิตอื่นในโลก และยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศบางกลุ่มที่มี ความรู้และเลือกดื่มผลิตชาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เคยได้ทดลอง บริโภคผลิตภัณฑ์ชาเชียงราย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการขาดข้อมูลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ รวมทั้งไม่ได้รับ ข้อมูลประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ความยุ่งยากในการชงชา การใช้อุปกรณ์ชงชาที่หลากหลาย ก็ เป็นอีกปัจจัยหนํ่งที่ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วไม่นิยมบริโภคชารูปแบบเดิม โดยหันไปเลือกดื่มเครื่องดื่มที่เตรียมได้สะดวกรวดเร็ว หรือถ้าเป็นชาก็นิยมดื่มชาดำชนิดซอง หรือบริโภคชา สำเร็จรูปบรรจุขวดแทนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ชาแห้งไปชงดื่ม