ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 120,000 ไร่โดยปลูกมากที่สุดในเขตจังหวัดเชียงราย สายพันธุ์ ชาหลักที่ปลูกได้แก่ ชาสายพันธุ์อัสลัม และชาสายพันธ์จีน ผลผลิตที่ได้จะถูกนำไปแปรรูปในโรงงานที่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ปลูก การแปรรูปจากใบชาสดเป็นผลิตภัณฑ์ชาแห้งนั้น จังหวัดเชียงรายมีโรงงานชาที่ สามารถผลิตชาได้สองรูปแบบหลักคือ การผลิตชาอูหลง และการผลิตชาเขียว ซึ่งการผลิตทั้งสองรูปแบบนี้ จะอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญการผลิต การลงทุนเครื่องจักร และความต้องการของตลาดในขณะนั้น การผลิตชาในรูปแบบเดิมนั้นผลผลิตชาที่ได้จะได้ผลิตภัณฑ์ชาเขียวที่มี ลักษณะเป็นเส้น และชาอูหลงที่มีลักษณะม้วนตัวเป็นก้อนเล็กๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะลูกนำบรรจุในบรรจุภัณฑ์ รูปแบบต่างๆ เพื่อขายปลีกและขายส่ง ตลาดชาในปัจจุบันมีทั้งชาภายในประเทศและต่างประเทศ ชาเชียงรายเป็นที่นิยมของตลาดในกลุ่มผู้บริโภคต่างประเทศเช่นไต้หวันเนื่องจากชาเชียงรายมีรสชาติชาที่เป็นเลิศไม่แพ้ชาจากแหล่งผลิตอื่นในโลก และยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศบางกลุ่มที่มี ความรู้และเลือกดื่มผลิตชาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เคยได้ทดลอง บริโภคผลิตภัณฑ์ชาเชียงราย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการขาดข้อมูลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ รวมทั้งไม่ได้รับ ข้อมูลประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ความยุ่งยากในการชงชา การใช้อุปกรณ์ชงชาที่หลากหลาย ก็ เป็นอีกปัจจัยหนํ่งที่ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วไม่นิยมบริโภคชารูปแบบเดิม โดยหันไปเลือกดื่มเครื่องดื่มที่เตรียมได้สะดวกรวดเร็ว หรือถ้าเป็นชาก็นิยมดื่มชาดำชนิดซอง หรือบริโภคชา สำเร็จรูปบรรจุขวดแทนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ชาแห้งไปชงดื่ม
Tag Archives: ชาจากยูนนาน
ชาอูหลงหรือที่เรียกอีกอย่างว่า ชามังกรดำ อู แปลว่า ดำ หลง แปลว่า มังกร มีถิ่นกำเนิดมาจากมณทลฟูเจี้ยน โดยที่มาของชื่อนั้นมาจากเรื่องเรื่องเล่าในตำนานว่า ค้นพบว่าต้นชาต้นหนึ่งบนเขาสามารถนำมาผลิตเป็นใบชารสดีมาก แต่ยากลำบากในการเก็บชาเนื่องจาก ไร่ที่มีการปลูกชานั้นได้มีงูสีดำ มาอาศัยอยู่และมันจะไม่ทำร้ายคนและมันจะเลื้อยพันอยู่ตามต้นชาเป็นจำนวนมาก ในตอนแรกชาวไร่เรียกชื่อชาชนิดนี้ว่า “ชางูดำ” แต่มีความรู้สึกว่าชื่อนี้มันจั๊กจี้ จึงได้เปลี่ยนคำว่า “งู” มาเป็นมังกร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ชามังกรดำ” ชาอูหลงเป็นชากึ่งหมัก คือมีการบ่มใบชาทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้ชามีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น ชาอูหลงนี้นอกจากจะมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ มณฑลฟูเจี้ยนแล้วนั้น ยังมีแหล่งผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่เกาะในประเทศไต้หวันซึ่งคนในประเทศไต้หวันจะนิยมดื่มชาอูหลงกันมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ของชาอูหลงก็ว่าได้ ชาอูหลงที่ขึ้นชื่อของไต้หวันคือ ชาต้งติ่งอูหลง เป็นชาอูหลงที่ปลูกอยู่บนภูเขาที่ชื่อต้งติ่ง จึงได้มีการนำชื่อของภูเขามาตั้งเป็นชื่อของชา
เราดื่มชากันติดปากไม่ต่างจากการดื่มกาแฟ และมีข้อมูลที่ยืนยันว่าคนเรามีการดื่มชากันมากว่า 5 พันปีแล้ว ปัจจุบัน ชาที่เราดื่ม ๆ กัน มีหลายประเภท ทั้งชาแท้ ชาเขียว ชาขาว ชาดำ ชาแดง หรือ ชาอู่หลง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ผู้เชี่ยวชาวด้านโภชนาบำบัดให้ความรู้เรื่องของชา ๆ ไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือ อาหารต้านวัยต้านโรค เธอว่าชาทุกชนิดที่กล่าวมามีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงในรูปพอลิฟีนอล ประกอบไปด้วยสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด ซึ่งเป็นคุณในการป้องกันโรคได้หลายโรค อันดับแรกเลยเป็นข้อมูลที่พบกันมาก นักวิจัยแนะนำการดื่มชาวันละ 1-5 ถ้วย เพื่อลดโรคหัวใจหรือป้องกันหัวใจวาย นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์พบว่า ผู้ที่กินสารฟลาโวนอยด์มากที่สุด มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 68% อาหารที่มีสารฟลาโวนอยด์มากที่สุดคือชาดำ รองลงมาคือหัวหอมและ แอปเปิล รายงานการวิจัยจากองค์การอาหารและเกษตรของสหรัฐอเมริกาพบว่า การดื่มชาดำวันละ 5 ถ้วย ช่วยลดแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลไม่ดี) ได้ถึง 11.1% และลดคอเลสเตอรอลรวม 6.5% ในกลุ่มชายและหญิงที่มีคอเลสเตอรอลสูงขึ้นไม่มาก งานวิจัยในบอสตันพบว่า ผู้ที่ดื่มชาดำวันละถ้วย ลดความเสี่ยงหัวใจวาย 44% เทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่จากการวิเคราะห์งานวิจัย 17 […]