มังกร เป็นคำเรียกในภาษาไทยของคำว่า Dragon หรือคำว่า龙( หลง ) ในภาษาจีน ซึ่งมีความพยายามทำการศึกษา ค้นคว้าต่าง ๆ ว่า มังกร แท้จริงแล้ว เคยมีอยู่จริงหรือไม่ และมีถิ่นกำเนิดเริ่มต้นมาจากที่ ไหนกัน แน่ เพราะในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในหลายประเทศ ต่างก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับมังกรในประเทศของตน ซึ่งถ้าหากจะนำเสนอเรื่องราวของมังกรในพื้นที่ของคอลัมป์นี้ รับรอง ได้เลยว่า เขียนต่อเนื่องได้เป็นปีเลยทีเดียว แต่เอาเป็นว่า มีบางมุม บางเรื่องของมังกรที่น่าสนใจ และอยากจะนำเสนอต่อผู้ที่ต้องการอยากรู้จักมังกรให้มากขึ้น จึงขอนำเสนอเรื่องราวของ 龙生九子 ( หลง เซิง จิ๋ว จื่อ ) หรือแปลเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ว่า “ มังกรให้กำเนิดลูกเก้าตัว” มังกรตัวที่ 1 หรือองค์ชายใหญ่ 赑屃 bixi ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ ปี้ซี่” ปี้ซี่ เป็นลูกมังกรตัวแรก หรือเป็นองค์ชายใหญ่ มีลักษณะห้าวหาญ […]
Category Archives: NEWs
ชาเขียว ชาแดง ชาขาว ชาดำ เป็นเครื่องดื่มที่ชาวจีนนิยมมากกว่า 4 พันปีมาแล้ว ในตำราแพทย์แผนโบราณของจีน ชามีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น ช่วยย่อยอาหาร ล้างสารพิษ และเชื่อกันว่ามีฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ชามีหลายชนิด แต่สามารถจัดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ชาดำและชาเขียว ข้อแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มนี้ คือ การหมัก ซึ่งรสชาติของชาดำนั้นจะเข้มข้นกว่าชาเขียว แต่ชาเขียวมีสารสำคัญซึ่งไม่ได้เปลี่ยนไปในขบวนการหมักชา และมีคุณภาพมากกว่าชาดำ สารสำคัญในชาเขียวช่วยป้องกันโรคหัวใจได้หลายอย่าง ช่วยลดโคเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ชาเขียวยังมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอม คนจึงนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น หรือ ชาวยุโรป ชาที่นิยมดื่มในปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ชาจีน ชาเขียว และชาฝรั่ง ซึ่งชาแต่ละชนิดจะต่างกันตรงกรรมวิธีในการผลิต แต่ชาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากก็คือชาเขียว ซึ่งเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก ทำให้ไม่สูญเสียส่วนประกอบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไปในระหว่างการหมักเหมือน ชาฝรั่ง ชาเขียวได้จากการทำใบชาให้แห้งที่อุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว […]
เมื่ออากาศเย็นลง จนทำใครหลายคนรู้สึกหนาวและอาจป่วยไข้ไม่สบายเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง ระยะนี้จึงต้องใส่ใจดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องการดื่มน้ำ ที่ไม่ว่าจะฤดูไหน ก็ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ สำหรับน้ำที่ดื่ม ไม่ควรเย็นจี๋ เพราะทำให้เส้นเลือดที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารหดตัวลง หากเป็นเช่นนั้นเซลล์จะปรับตัวและขยายตัวเพื่อดูดซึม ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการปรับอุณหภูมิก่อนดูดซึม จึงมักเกิดอาการจุกหน้าอกขณะกระหายน้ำ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ชี้ว่า การดื่มน้ำเย็นจัดมากเกินไปจะทำให้ขีดความสามารถในการทำงานของสมองลดลงทันที ส่งผลกระทบต่อการขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมอง ซึ่งน้ำเย็นจัดเพียงแค่แก้วเดียว ยังทำให้สภาพจิตใจของบางคนลดลงร้อยละ15 ส่วนการดื่มน้ำร้อนจัดก็ไม่ควร เพราะความร้อนของน้ำอาจทำลายเยื่อบุช่องปากและทางเดินอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค การดื่มน้ำที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างการเล็กน้อย เช่น น้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ในระบบหมุนเวียนเลือดได้ทันที โดยเฉพาะในหน้าหนาว ช่วงเวลาที่ควรดื่มน้ำ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำไว้ 3 ช่วงด้วยกัน ประกอบด้วย แก้วแรกของวัน ดื่มระหว่าง 05.00-07.00 น. จะช่วยการขับถ่าย ช่วงต่อไป คือ 15.00-17.00น. จะช่วยล้างกระเพาะปัสสาวะ และแก้วสุดท้ายของวัน ดื่มก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง ช่วยการนอนหลับที่ดี ในแต่ละวัน ปริมาณน้ำดื่มที่ร่างกายต้องการของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปตามน้ำหนักตัว ซึ่งมีวิธีคำนวณง่ายๆ […]
เราดื่มชากันติดปากไม่ต่างจากการดื่มกาแฟ และมีข้อมูลที่ยืนยันว่าคนเรามีการดื่มชากันมากว่า 5 พันปีแล้ว ปัจจุบัน ชาที่เราดื่ม ๆ กัน มีหลายประเภท ทั้งชาแท้ ชาเขียว ชาขาว ชาดำ ชาแดง หรือ ชาอู่หลง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ผู้เชี่ยวชาวด้านโภชนาบำบัดให้ความรู้เรื่องของชา ๆ ไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือ อาหารต้านวัยต้านโรค เธอว่าชาทุกชนิดที่กล่าวมามีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงในรูปพอลิฟีนอล ประกอบไปด้วยสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด ซึ่งเป็นคุณในการป้องกันโรคได้หลายโรค อันดับแรกเลยเป็นข้อมูลที่พบกันมาก นักวิจัยแนะนำการดื่มชาวันละ 1-5 ถ้วย เพื่อลดโรคหัวใจหรือป้องกันหัวใจวาย นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์พบว่า ผู้ที่กินสารฟลาโวนอยด์มากที่สุด มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 68% อาหารที่มีสารฟลาโวนอยด์มากที่สุดคือชาดำ รองลงมาคือหัวหอมและ แอปเปิล รายงานการวิจัยจากองค์การอาหารและเกษตรของสหรัฐอเมริกาพบว่า การดื่มชาดำวันละ 5 ถ้วย ช่วยลดแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลไม่ดี) ได้ถึง 11.1% และลดคอเลสเตอรอลรวม 6.5% ในกลุ่มชายและหญิงที่มีคอเลสเตอรอลสูงขึ้นไม่มาก งานวิจัยในบอสตันพบว่า ผู้ที่ดื่มชาดำวันละถ้วย ลดความเสี่ยงหัวใจวาย 44% เทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่จากการวิเคราะห์งานวิจัย 17 […]