ชาเขียว ชาแดง ชาขาว ชาดำ

ชาเขียว ชาแดง ชาขาว ชาดำ

เป็นเครื่องดื่มที่ชาวจีนนิยมมากกว่า 4 พันปีมาแล้ว ในตำราแพทย์แผนโบราณของจีน ชามีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น ช่วยย่อยอาหาร ล้างสารพิษ และเชื่อกันว่ามีฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ชามีหลายชนิด แต่สามารถจัดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ชาดำและชาเขียว ข้อแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มนี้ คือ การหมัก ซึ่งรสชาติของชาดำนั้นจะเข้มข้นกว่าชาเขียว แต่ชาเขียวมีสารสำคัญซึ่งไม่ได้เปลี่ยนไปในขบวนการหมักชา และมีคุณภาพมากกว่าชาดำ สารสำคัญในชาเขียวช่วยป้องกันโรคหัวใจได้หลายอย่าง ช่วยลดโคเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ชาเขียวยังมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย

ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอม คนจึงนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น หรือ ชาวยุโรป ชาที่นิยมดื่มในปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ชาจีน ชาเขียว และชาฝรั่ง ซึ่งชาแต่ละชนิดจะต่างกันตรงกรรมวิธีในการผลิต แต่ชาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากก็คือชาเขียว ซึ่งเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก ทำให้ไม่สูญเสียส่วนประกอบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไปในระหว่างการหมักเหมือน ชาฝรั่ง ชาเขียวได้จากการทำใบชาให้แห้งที่อุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ใบชาแห้งยังคงมีสีเขียวและมีคุณภาพเช่นเดียวกับใบชาสด ซึ่งเมื่อชงน้ำร้อนแล้วจะได้น้ำชาสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดกว่าชาจีน นิยมแต่งกลิ่นด้วยพืชหอมเช่น มะลิ บัวหลวง เป็นต้น

ชาชนิดต่างๆ

มนุษย์รู้จักดื่มชาเมื่อประมาณ 2737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต้นชามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis กําเนิดของต้นชามาจากประเทศจีน พันธุ์ชามีมากกว่า 2,000 พันธุ์ ใบชาจากต้นเดียวกันสามารถแบ่งชนิดของชาได้ตามกรรมวิธีในการผลิต

ชาเขียว (Green tea)

  • ใบของชามีสีเขียว ใบแห้งทําโดยการนําชาสดคั่วหรืออบไอน้ำเพื่อทําลายเอนไซม์และป้องกัน ปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารโพลีฟีนอล เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีเขียว ชาเขียวชาเป็นพืชในตระกูล Camellia sinensisนิยมชงดื่มมาหลายชั่วอายุคนชาเขียวได้รับความสนใจไปทั่วโลก
  • ชาเขียวเป็นชาที่นิยมดื่มในจีนและญี่ปุ่นทำได้โดยการเอาใบชาสดที่เก็บ ได้มาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปนักโดย ใช้มือคลึงเบาๆก่อนแห้งหรือนำใบชาอ่อนที่ได้มาผ่านไอน้ำหรืออบด้วยความร้อน ทันทีเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์จึงได้ใบชาจึงมีความสดและยังมีสีเขียว อยู่มาก
  • ชาเขียวที่มีคุณภาพดีได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจาก ยอดเรียกว่า”บู๋อี๋”ใบชาใบคู่ที่สามและคู่ที่สี่จากยอดจะให้ชาชั้นสองเรียก ว่า”อันเคย”ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและคู่ที่หกจากปลายยอดจะให้ชาชั้นเลวเรียกว่า” ล่ำก๋อง”เมื่อชงดื่มจะได้น้ำชาที่มีสีเหลืองอ่อนหรือเขียวและมีกลิ่นหอม
  • ชาเขียวแบ่งตามลักษณะการนำมาบริโภคได้เป็น 2 ประเภทคือ “ชาคอ” (breast tea) ที่ดื่มแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ และ “ชากลิ่น”(scented tea) ที่มีกลิ่นหอม เนื่องจากอบด้วยกลิ่นหอมจากดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ ดอกประยงค์

ชาขาว (White tea)

  • ใบของชามีสีเขียวอ่อน ปกคลุมด้วยขนขาวๆ ใบจะตากแห้งโดยใช้แสงแดด เมื่อชงชาแล้วจะได้ชาที่มีสีซีดมาก
  • ชาขาวเป็นใบชาที่ได้จากเลือกเก็บเฉพาะยอดอ่อนที่มีขนสีขาวปกคลุมอยู่ ก่อนนำมาผ่านกรรมวิธีเดียวกันกับชาเขียว

ชาแดง (ชากึ่งหมัก ,ชาอู่หลง)

  • ชาประเภทนี้จะมีการผึ่งใบชาให้แห้งจนได้ที่แล้วนำมานวดเพื่อให้ผิวนอก ของใบช้ำ ซึ่งเป็นการกระตุ้นสารแทนนินที่อยู่ภายใน ทำให้ใบชามีสีเข้ม และมีรสฝาดขม จากนั้นนำไปหมัก หรือทำปฏิกิริยากับออกซิเจน 10-80% บางตำราจึงจัดเป็น “ชาดำ” ประเภทหนึ่ง บางตำราจัดแยกออกเป็นชาอีกประเภทหนึ่ง
  • ชาแดง เป็นใบของชาเขียวได้ผ่านกระบวนการออกซิเดชันหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีออกน้ำตาลแดง

ชาดำ (ชาฝรั่ง)

  • เตรียมได้โดยการเอาใบชาที่เก็บมาได้ เอามากองสุมไว้ เพื่อให้เกิดการหมัก 100%ขณะที่หมักจะมีการบดหรือขยี้ใบชาเพื่อช่วยเร่งการหมักให้เร็วขึ้นในขั้น ตอนของการหมักนี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารสำคัญในใบชาเมื่อหมัก จนได้ที่ตามที่ต้องการแล้วก็จะนำไปทำให้แห้งใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื่องจากสารสีบางชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างการหมักโดยการใช้ความร้อนที่พอ เหมาะเนื่องจากผ่านกระบวนการหมักซึ่งเป็นกระบวนการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงมีผลให้ใบชาสูญเสียสารสำคัญไปจึงมีประโยชน์ในการป้องกันและบำบัดโรคไม่ดี เท่าชาเขียว
  • ชาดํา เป็นใบของชาเขียว ผ่านกระบวนการหมักเต็มที่ทําให้ใบออกสีดําเข้ม ใบทําให้แห้งโดยการใช้เครื่องอบ เครื่องดื่มที่ได้จะออกสีแดงเข้มจนดูดํา

ชาอูลองเขียว (Green oolong)

  • ใบของชาเขียวถูกออกซิไดซ์ร้อยละ 15-20 ก่อนเข้าเครื่องอบแห้ง เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีเขียวทอง

ชาอูลองแดง (Red oolong)

  • ใบของชาเขียวถูกออกซิไดซ์ร้อยละ 15-20 ก่อนเข้าเครื่องอบแห้ง เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีออกน้ำตาลแดงเข้ม

ชากลิ่น (Scented tea)

  • เพิ่มกลิ่นโดยการเติมดอกไม้ ผลไม้ ชากลิ่นมักใช้ใบชาที่มีคุณภาพต่ำมาแต่งกลิ่นลงไป โดยนิยมใช้ชาดํา ยกเว้นชากลิ่นมะลิ

ชาจากเมล็ดกัวรานา (Guarana Tea)

  • สารสกัดจากเมล็ดกัวราน่านั้น นิยมใช้เป็นประโยชน์มานานแล้ว โดยเฉพาะในแถบประเทศแอฟฟริกาและอเมริกาใต้ โดยเน้นในเรื่องของการให้ผลในการกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้ กระเปร่า จากสารสำคัญที่มีอยู่ในเมล็ดกัวราน่า และสารสำคัญชนิดนี้เป็นสารสำคัญที่นอกจากจะให้ผลในการกระตุ้นร่างกายของเรา ให้กระปรี้กระเปร่าแล้ว สารสำคัญดังกล่าวยังให้ผลในการช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ทั้งในระบบทางเดินอาหารและระบบไหลเวียนโลหิต จะพบว่าโปรแกรมในการกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีสารสกัด จากกัวราน่าอยู่ในโปรแกรมเสมอ

ชาสกัด

  • เป็นที่ทราบกันดีว่าสารโพลีฟีนอลในชาเขียวสามารถป้องกันโรคได้หลายโรค แต่เนื่องจากปริมาณของโพลีฟีนอลต่อชาหนึ่งถ้วยมีไม่มากนัก การจะบริโภคถึง 10ถ้วยอาจปฏิบัติได้ยากทางอุตสาหกรรมอาหารจึงได้คิดค้นวิธีการสกัดเพื่อให้ ได้สารสําคัญมากขึ้นและบริโภคได้สะดวกขึ้น
  • สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารสําคัญที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม จึงมีการนําสารสกัดจากธรรมชาติเติมในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น ซีเรียล, เค้ก, ขนมปังกรอบ, เนื้อหมู, ไก่, เนื้อวัว, น้ำมันพืช, น้ำมันตับปลา, เนื้อปลา, ไขมันสัตว์, ผลิตภัณฑ์นม, บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป, ลูกอม, ไอศกรีม, ของขบเคี้ยว, ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นต้น
  • ส่วนของใช้ที่นําชาเขียวสกัดมาเติม ได้แก่ ยาสีฟัน, น้ำยาบ้วนปาก, หมากฝรั่ง, สเปรย์ดับกลิ่นปาก, แชมพู, ครีมทาผิว, น้ำหอม, ครีมทาผิวผสมสารต้านรังสีอุลตราไวโอเล็ต, ผ้าอนามัย, เสื้อผ้า, ถุงเท้า เป็นต้น

ส่วนประกอบของชาเขียว

ใบชาสด ประกอบด้วย 75-78% (dry matter 22-25%) ใบชาแห้งมีสารอินทรีย์ 93-96% สารอนินทรีย์ 4-7% สารอินทรีย์ ได้แก่ โปรตีน 20-30% กรดอะมิโน 1-4% (theanine) อัลคาลอยด์ 3-5% (caffeine) โปลีฟีนอล 20-35% (catechin) คาร์โบไฮเดรต 20-25% (polysaccharide) กรดอินทรีย์ 3% (oxalic, malic, citric) ไขมัน 8% เม็ดสี 1% สารประกอบกลิ่น 0.005-0.03% วิตามิน 0.6-1% สารอนินทรีย์ ได้แก่ โปตัสเซียม 1.76% แคลเซียม 0.41% ฟอสฟอรัส 0.32% แมกนีเซียม 0.22% เหล็ก 0.15% แมงกานีส 0.12% ซัลเฟอร์ 0.088% อลูมิเนียม 0.069% โซเดียม 0.03% ซิลิกอน 0.024% สังกะสี 0.003% ทองแดง 0.002% เป็นต้น

โพลีฟีนอล (Polyphenols)

  1. สารที่สําคัญที่สุดในชาเขียว ได้แก่ โพลีฟีนอล ซึ่งเป็นไฟโตเคมิคัลที่สังเคราะห์โดยพืช ประกอบด้วย bioflavonoids เช่น anthocyanins, coumestanes, flavonoids, isoflavonoids, stilbenes เป็นต้น สารออกฤทธิ์ที่สําคัญที่เป็น oligometric polyphenols ได้แก่ proanthocyanidins โพลีฟีนอลเป็นสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายที่พบมากในชาเขียว มีผลป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็ง มีรสขม ฤทธิ์ต้านปฏิกริยาออกซิเดชั่นทำให้เกิดอนุมูลอิสระช้าลง ส่งผลให้เซลล์มีอายุขัยนานขึ้น สารโพลีฟีนอลช่วยเพิ่มภูมิต้านทานต่อต้านมะเร็ง และมีฤทธิ์ต้านจุลชีพเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  2. กลุ่มที่สำคัญของสารโพลีฟีนอลในใบชาคือ แคททีชิน ซึ่งเป็นซับคลาสของสารฟลาโวนอยด์ เป็นสารสำคัญต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย ชาที่ชงดื่มโดยใช้ใบชา 1 กรัมต่อน้ำร้อน 100 มิลลิลิตรชงในเวลา 3 นาที จะมีสารแคททีชินร้อยละ 30-42 และมีสารคาเฟอีนร้อยละ 3.6 โดยสาร epigallocatechin-3-gallate (EGCG) เป็นแคททีชินที่มีมากที่สุด
  3. สารโพลีฟีนอลในใบชาทําปฏิกิริยากับธาตุเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ มีผลยับยั้งการดูดซึมของธาตุเหล็กในลําไส้ การดื่มชาควรดื่มระหว่างมื้อดีกว่าดื่มพร้อมอาหาร การกินยาเม็ดเหล็กเพื่อบํารุงก็ไม่ควรกินพร้อมกับน้ำชา
  4. ชาเขียวที่เป็นเครื่องดื่มสําเร็จรูปที่จําหน่ายนั้น มิได้ระบุปริมาณใบชาที่แท้จริง แต่พอจะประมาณได้ว่าใบชาที่ใช้ต้องน้อยและเจือจางมาก มีรายงานว่าน้ำชาที่ชงมีสารโพลีฟีนอลร้อยละ 40 ของ dry matter ซึ่งชามี dry matter เพียงร้อยละ 0.35 ดังนั้นการจะหวังพึ่งสรรพคุณโพลีฟีนอลคงจะเป็นไปไม่ได้ การเติมน้ำตาลและคาเฟอีนลงในน้ำชาเขียวก็คงไม่ต่างไปจากเครื่องดื่มสําเร็จ รูปอื่นๆ ถ้าจะดื่มเพื่อดับกระหายนานๆ ครั้งได้ ไม่ควรดื่มอย่างจําเจซ้ำซากบ่อยๆ

แคททีชิน (Catechins)

  1. สารแคททีชินเป็นสารแทนนินชนิดหนึ่งในใบชาเขียว มีฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยยับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีนซึ่งก่อมะเร็งหลายชนิด พบว่าในท้องถิ่นที่มีการดื่มชาเขียวกันมาก มีอัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต่ำกว่าทั่วไป
  2. สารแคททีชินจัดอยู่ในกลุ่มโพลีฟีนอล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีและอี 100 เท่า สี กลิ่น รสของชา ขึ้นอยู่กับปริมาณสารแคททีชินในชา ฤดูการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวมีผลต่อระดับของสารแคททีชินในใบชา ชาในฤดูใบไม้ผลิ (รุ่นแรก) มีสารแคททีชินประมาณร้อยละ 12-13 ขณะที่ชาในฤดูร้อน (รุ่นสอง-สาม) มีสารแคททีชินประมาณร้อยละ 13-14 ใบชาอ่อนมีสารแคททีชินมากกว่าใบชาแก่ ใบแรกมีสารแคททีชินร้อยละ 14 ใบที่สองร้อยละ 13 ใบที่สามร้อยละ 12 ใบที่สี่ร้อยละ 12 รสชาติของชา รุ่น 2 รุ่น 3 มีรสแหลมขมกว่าชาดํา ปริมาณของสารแคททีชินน้อยกว่าชาเขียว แต่ชาดํามีโมโนเทอพีน แอลกอฮฮล์ สูงกว่าชาเขียว จึงทําให้มีผู้นิยมกลิ่นของชาดํามากกว่า
  3. รายงานการวิจัยพบว่าสารแคททีชินในใบชาช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดของ หนูได้ โดยทำให้หนูขับถ่ายไขมันและโคเลสเตอรอลออกทางอุจจาระเพิ่มขึ้น แต่กลไกยังไม่ทราบแน่ชัด
  4. ปริมาณใบชาที่ชงต่อถ้วย ชนิดของใบชา อุณหภูมิน้ำร้อน เวลาที่แช่อยู่ในปั้นชา หรือโถน้ำร้อน ล้วนมีอิทธิพลต่อปริมาณของสารแคททีชินที่คนเราจะได้รับจากการดื่มชา การชงชา gunpowder 1 กรัม ต่อน้ำร้อน 100 มิลลิลิตร จะพบสารแคททีชิน 70 มิลลิกรัม และสารฟลาโวนอล 4 มิลลิกรัม การใช้ชา 1 – 2 ช้อนชาต่อถ้วย แช่น้ำร้อนนาน 3 นาที จะได้สารโพลีฟีนอล 240 – 320 มิลลิกรัม หรือ EGCG 100-200 มิลลิกรัม

แทนนิน (Tannins)

  1. แทนนินเป็นสารโพลีฟีนอลที่สามารถตกตะกอนโปรตีน ก่อให้เกิดสารประกอบโดยจับกับ polysaccharides, nucleic acids, alkaloids พวก condensed tannins ได้แก่ proanthocyanidin หรือ flavan-3-ols ส่วน hydrolyzable tannins ได้แก่ glycosylated gallic acids, catechin, gallocatechin, epicatechinn, epigallocatechin, kaempferol, querectin
  2. แทนนิน หรือ ฝาดชา มีอยู่หลายชนิด พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก เป็นสารที่มีรสฝาด ใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ หากต้องการดื่มชาเขียวให้ได้รสชาติที่ดี จึงไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ในกานานเกิน ไป เพราะแทนนินจะละลายออกมามาก ทำให้ชาเขียวมีรสขม แต่ถ้าหากดื่มชาเขียวเพื่อจุดประสงค์ในการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้มใบชา นานๆ เพื่อให้มีปริมาณแทนนินออกมามาก
  3. แทนนินช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนังหลอดเลือด จึงทำให้ชาเขียวเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงด้วย
  4. ชาเขียว ชาอูลอง และชาดํา ล้วนสามารถระงับอาการท้องเสียและลําไส้อักเสบได้ ฤทธิ์ดังกล่าวมาจากสารแทนนินในใบชา ซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบ และต้านการติดเชื้อ

ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)

  1. ชาเขียวเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และสารโพลีฟีนอล โดยจะเป็นส่วนประกอบสำคัญถึงร้อยละ 36 ของใบชาแห้ง
  2. ฟลาโวนอยด์เป็นเม็ดสีในผลไม้ มักจะพบในผักและผลไม้สด สารในกลุ่ม Flavonoids ได้แก่ flavone, flavanone, flavan, flavonol และ flavanol
  3. flavanols เป็นสารโพลีฟีนอลที่มีมากที่สุดในชาเขียว มักรู้จักกันในนามของแคททีชิน ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 35-50 ส่วนชาดํามีสารแคททีชินเพียงร้อยละ 10 เนื่องจาก flavanols ถูกเปลี่ยนเป็น theaflavins และ thearubigind ขณะผ่านกระบวนการหมัก ส่วนชาอูลองมีสารแคททีชินร้อยละ 8-20
 

Theanine

 

  • เป็นกรดอะมิโน ออกฤทธิ์เหมือนยากล่อมประสาท พบมากในชาเซนชะ ชาชนิดนี้เมื่อเก็บเกี่ยวช่วงหนึ่งจะให้สารโพลีฟีนอลมาก ซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แต่หากเก็บเกี่ยวอีกช่วงเวลาหนึ่งจะได้สาร theanine มากเหมาะสำหรับผู้ที่มีความเครียด
  • ชาเขียวมีโพลีฟีนอลและแคททีชิน ส่วนชาดำซึ่งก็คือชาเขียวที่นำไปหมัก มีอนุพันธ์ของสารโพลีฟีนอลที่เรียกว่า theaflavins

คาเฟอีน

  1. ใบชาจะประกอบด้วยคาเฟอีน ร้อยละ 2.5 – 4.5 ประมาณร้อยละ 80 คาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่สามารถละลายน้ำได้ จะถูกสกัดออกมาจากการชงชาในแต่ละครั้ง คนทั่วไป การได้รับปริมาณคาเฟอีน 400-500 มิลลิกรัมไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือมีผลข้างเคียงใดๆ ต่อหญิงตั้งครรภ์หรือทารกในครรภ์มารดา ซึ่งปริมาณคาเฟอีนดังกล่าวเทียบได้กับการดื่มชา 10-12 แก้วต่อวัน
  2. คาเฟอีนมีอยู่ในชาเขียวประมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งสารชนิดนี้เองที่ทำให้น้ำชาสามารถกระตุ้นให้สมองสดชื่นแจ่มใส หายง่วง เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต เนื่องจากคาเฟอีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นประสาทและบีบหัวใจ ถ้าต้องการดื่มจริง ๆ ควรดื่มชาที่สกัดคาเฟอีนออกแล้ว ในการชงชานั้นพบว่า 3 นาทีแรก จะได้คาเฟอีน ออกมาในประมาณสูง โดยทั่วไปใบชาเขียว 1 ถ้วย (ประมาณ 6 ออนซ์) จะมีคาเฟอีนอยู่ 10-50 มิลลิกรัม
  3. ส่วนประกอบอื่นๆของใบชาเขียวสดประกอบไปด้วยเมธิลแซนทีน โปรตีน และกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ
  4. ชาเขียวมีคาเฟอินน้อยกว่ากาแฟ คือประมาณ 30-60 มิลลิกรัมต่อชา 6-8 ออนซ์ เมื่อเทียบกับจำนวนคาเฟอินกว่า 100 มิลลิกรัมที่พบในกาแฟ 8 ออนซ์

Epigallocatechin Gallate (EGCG)

  1. ความลับของชาเขียวอยู่ที่ปริมาณสาร Catechin Polyphenol โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Epigallocatechin Gallate (EGCG) ที่มีอยู่มากในตัวชา
  2. EGCG เป็นสารต้านพิษ และยังช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลมะเร็งด้วยการฆ่าเซลมะเร็ง โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนดี นอกจากนั้นยังช่วยลดระดับ LDL โคเลสเตอรอล และยับยั้งการอุดตันของก้อนเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย
  3. มักมีการเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากการดื่มชา กับประโยชน์ทีได้จากการดื่มไวน์ นักวิจัยสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมชาวฝรั่งเศสจึงมีอัตราการป่วยด้วยโรคหัวใจน้อยกว่าชาวอเมริกัน ทั้งที่บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง คำตอบก็คือ เป็นเพราะไวน์แดง ซึ่งมีสาร resveratrol ที่เป็นโพลีฟีนอลที่ลดอันตรายจากการสูบบุหรี่และรับประทานอาหารที่มีไขมัน สูง ในการวิจัยเมื่อปี 1997 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัส สรุปว่า EGCG นั้นแรงเท่าๆ กับ resveratrol ถึงเกือบ 2 เท่า ซึ่งเป็นการอธิบายว่า ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงมีอัตราการเสี่ยงโรคหัวใจค่อนข้างต่ำ แม้ว่ากว่าร้อยละ 75 จะสูบบุหรี่ก็ตาม
  4. ชาเขียว ชาอูลอง และชาดำต่างก็มาจากใบของต้น Camellia Sinensis การที่ชาเขียวมีประโยชน์มากกว่า ก็เนื่องมาจากกระบวนการแปรรูป โดยใบชาเขียวจะถูกนำมาอบไอน้ำ ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้สารประกอบ EGCG เข้ารวมตัวกับออกซิเจน ในทางตรงข้าม ใบชาอูลองและชาดำกลับเกิดจากการนำใบชาไปหมัก ซึ่งทำให้ EGCG ถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบชนิดอื่น ซึ่งแทบไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือต่อสู้โรคใดๆ เลย
  5. สาร EGCG จัดเป็นสารโพลี่ฟีนอลชนิดหนึ่งที่มีการวิจัยกันอย่างกว้างขวาง และพบว่า EGCG มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ได้แก่ มีส่วนช่วยในขบวนการกำจัดไขมันโคเลสเตอรอลในหลอดเลือด ซึ่งทำให้ลดภาวะความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด ช่วยในการขับสารพิษ และสารอนุมูลอิสระ จึงส่งผลในการป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็งและโรคความเสื่อมของเซลล์และ อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
  6. ช่วยทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากมีผลในการกระตุ้นการทำงานระดับเซลล์ นอกจากสรรพคุณดังกล่าวจากสาร EGCG ที่มีอยู่ในชาเขียวแล้ว ชาเขียวยังให้สารอื่นๆ อีกมากมายเช่น สารคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อขบวนการการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย และจะทำงานร่วมกับสาร EGCG ในการช่วยทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่น และลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารพิษและอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นชาเขียวยังมีวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารจากพืชที่มีความสำคัญต่อร่างกายอีกมากมาย

ประเภทของชาเขียว

ชาเขียว มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่น และชาเขียวแบบจีน ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน แต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง แต่อย่างไรก็ดี มีรายงานว่าวิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมด ถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซี จะสูญเสียไปประมาณครึ่งหนึ่ง แต่มีรายงานจากประเทศญี่ปุ่นว่า ถ้าเราสามารถรับประทานใบชาเขียวแห้ง 6 กรัมต่อวัน จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอีและวิตามินเอถึงร้อยละ 50 และ 20 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันตามลำดับ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีการผลิตชาเขียวในรูปผงสำหรับบริโภคขึ้น ซึ่งสามารถเติมลงในอาหารหลายชนิด ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นจนถึงสเต็กแฮมเบอร์เกอร์ สปาเกตตี้ และสลัด

ชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นมีการปลูก 2 แบบ ปลูกชาธรรมดากลางแจ้ง กับปลูกชาในร่ม โดย อาจมีไม้ใหญ่เป็นร่มเงา หรือปลูกกลางแจ้งจน 3 อาทิตย์ก่อนเก็บและเด็ดใบชา จึงกั้นบังแดด เพื่อให้ได้ชาที่นุ่ม มีกลิ่นหอมละมุม ซึ่งการปลูกชาลักษณะนี้เรียกว่า เคียวกุกุ (Gyokuro tea) แปลว่า pearl dew หยาดน้ำค้างไข่มุก ราคาแพงมาก

Sencha (เซนชะ) ชาเขียวที่ขึ้นชื่อในญี่ปุ่น มีกลิ่นรสที่ละเอียดอ่อน มีสีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวแก่
Bancha (บานชะ) ชาเขียวที่พบทั่วไป มีกลิ่นรสอ่อนมาก
Kukicha (กูกิชา) ชาเขียวที่มีใบชาน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นก้านชา
Genmaicha (เจนไมชา) ชาเขียวที่ผสมขาวซ้อมมือคั่ว กลิ่นรสคล้ายข้าวโพดคั่ว
Konacha (โคนะชา) ชาเขียวที่เป็นผงหยาบ กลิ่นหอมหวาน สีเขียวเข้ม มักใช้ในพิธีกรรม
Mugicha (มูกิชา) ไม่ใช่ชาจาก Camellia sinensis แต่ทําจากข้าวบาร์เลย์คั่ว ( Roasted Barley tea ) ไม่มีคาเฟอีน ถ้าไปร้านญี่ปุ่นแท้ๆ จะเสิร์ฟชานี้ในน้ำแข็งช่วงหน้าร้อน
Matcha (มัทชา) ชาเขียวที่ทําจากใบอ่อนของชาที่ปลูกแบบ Gyokuro นํามาบดละเอียดเป็นผงใช้ในพิธีกรรมและผสมในไอศกรีมชาเขียว
Oujicha (ฮูจิชา) ชาเขียวคั่ว มีรสชาติจัดกว่าชาอื่น
Gunpowder ชาเขียวที่ผ่านลูกกลิ้ง ใบม้วนแน่น
Flavored tea การนําชาต่างๆ ที่กล่าวแล้วมาเพิ่มรส เช่น Berry Cha, Lemon splash, Lavender moon, Jasmine fantasy, Moroccan sunrise เป็นต้น

ประเทศญี่ปุ่นและจีนจะผลิตชาเขียว ส่วนประเทศศรีลังกา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้จะผลิตชาดำ แต่ทั้งชาเขียวและชาดำก็ผลิตจากใบชาตระกูล Camellia sinensis เหมือนกัน แต่แตกต่างกันในแง่การผลิต กล่าวคือชาดำจะมีขบวนการผลิตที่มากกว่า การหมักทำให้สารที่มีอยู่ในใบชามีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น flavonoids จะเปลี่ยนไปเป็น theaflavins ทำให้ชาเขียวซึ่งผ่านขบวนการผลิตน้อยกว่าจึงมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชา ดำ ชาเป็นส่วนใบอ่อนของต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือ ต้นชา พันธุ์ชาที่นิยมปลูกเพื่อนำใบอ่อนมาทำใบชามี 2 สายพันธุ์ คือ ชาจีนและชาอัสสัม ชาจีน (Camellia sinensis) นิยมปลูกกันในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และไทย ชาอัสสัม (Camellia assamica) นิยมปลูกในประเทศอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฐาน พม่า และไทย ในสมัยก่อนทางภาคเหนือของประเทศไทย มีการใช้ใบชาอัสสัม ซึ่งมีขนาดใบใหญ่กว่าพันธุ์ชาจีนมาหมักทำเป็นเมี่ยง ใช้สำหรับเคี้ยว และใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนทางกลุ่มประเทศแถบอินเดีย นิยมนำเอาไปทำให้แห้งแล้วบดทำเป็นชาฝรั่งซึ่งมีสีแดงถึงดำ แต่ในปัจจุบันสายพันธุ์ชาจีน มีความนิยมในการเพาะปลูกมากกว่าชาอัสสัม ระยะไม่กี่ปีหลังนี้ทางกลุ่มประเทศแถบอินเดียก็เริ่มผลิตชาเขียว เช่น Green Joonktollee, Makaibari organic เป็นต้น

การดื่มชามีมานานเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว ตามตำนานของชาวจีนกล่าวว่า การดื่มชาเกิดขึ้นจากการสังเกตุเห็นโดยบังเอิญของจักรพรรดิเฉินหนุง ซึ่งพระองค์ชอบดื่มน้ำต้ม โดยบ่ายวันหนึ่งขณะที่พระองค์ต้มน้ำดื่มอยู่นั้น เผอิญมีใบไม้จากต้นไม้ใกล้ๆปลิวตกในหม้อน้ำ ซึ่งท่านสังเกตุว่า น้ำต้มที่มีใบไม้นั้นมีกลิ่นหอมและมีรสชาติดี ดื่มแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า จึงได้มีการศึกษาต่อไปพบว่ามีคุณสมบัติทางยา จึงได้มีการเผยแพร่ต่อไป คนจีนจึงรู้จักชาครั้งแรกในรูปแบบของสมุนไพร และจักรพรรดิเฉินหนุงก็ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทย์” ชาที่ใช้ในการบริโภค ส่วนมากจะเป็นต้นชาที่มีการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง มีอากาศเย็น มีความชื้นและอุณหภูมิพอเหมาะ ส่วนที่นำมาบริโภคซึ่งถือกันว่าเป็นใบชาที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะเก็บเฉพาะ ส่วนยอดอ่อนของต้น คือเฉพาะหน่ออ่อนและใบอ่อน 2 ใบแรกเท่านั้น ถ้าเป็นใบแก่กว่านั้น ถือว่าเป็นใบชาที่มีคุณภาพด้อยลงไป เคล็ดลับชาเขียว การชงชาให้ได้รสชาตินั้น มีเคล็บลับง่ายๆ ซึ่งหากทำไม่ดีแล้ว สารโพลีฟีนอลที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ก็อาจเป็นตัวทำลายรสชาติได้ โดยทำให้ชามีรสชาติเหมือนหญ้า ดังนั้นจึงไม่ควรต้มชานานเกินไป วิธีง่ายๆ คือ ใช้ชา 1 ถุง หรือประมาณ 2-4 กรัม ต่อถ้วย (1-2 ช้อนชา ขึ้นอยู่กับชนิดของชา) ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นทิ้งไว้ 3 นาที แล้วเทน้ำร้อนลงบนถุงชา และทิ้งไว้ 3 นาที นำถุงชาออก ปล่อยให้ชาเย็นลงอีก 3 นาที

คุณสมบัติของชาเขียว

โคเลสเตอรอล

  1. ชาเขียวมีฤทธิ์ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด นักวิทยาศาสตร์พบว่าการดื่มชามากกว่า 15 แก้วต่อสัปดาห์จะลดอัตราการตายจากโรคหัวใจลงร้อยละ 44 ชาเขียวสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สารแคททีชินลดการเพิ่มของไขมัน LDL และไตรกลีเซอไรด์ ชาเขียวจะป้องกันการจับตัวของเกร็ดเลือด เพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ป้องกันหลอดเลือดตีบ และออกฤทธิ์ยับยั้ง angiotension-converting enzyme (ACE) ทำให้ความดันโลหิตลดลง นอกจากนี้ยังมีการทดลองในหนูพบว่าชาเขียวช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  2. เป็นที่เชื่อกันมานานว่าการดื่มชาอาจทำให้ลดโคเลสเตอรอล และผลการวิจัยล่าสุดก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง พบว่าคนที่มีโคเลสเตอรอลค่อนข้างสูง เสริมด้วยชาสกัดจากชาดำและชาเขียวนาน 3 เดือน จะมีปริมาณโคเลสเตอเรลลดลงถึงร้อยละ 16 สิ่งที่น่าสนใจคือ ผลการวิจัยโดยใช้แต่สารสกัดจากชาเขียว ไม่พบว่าช่วยลดโคเลสเตอรอลแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามยังไม่แน่ชัดว่าการเติมชาดำเข้าไป มีผลต่อผลการวิจัยมากน้อยเพียงใด
  3. คณะนักวิจัยสหรัฐฯ ได้รายงานผลการศึกษาประโยชน์ของชาที่มีต่อสุขภาพในวารสารโภชนาการว่า ชายังคงมีสรรพคุณเป็นตัวล้างพิษอย่างแรง สามารถกวาดล้างสารอนุมูลอิสระลงได้ ผลจากการศึกษาพบว่าชาดำสามารถช่วยลดโคเลสเตอรอลลงได้ร้อยละ 4 นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่แสดงว่าการดื่มชาเขียวช่วยลดระดับคลอเรสเตอร อลโดยรวมได้ และยังช่วยเพิ่มอัตราส่วนของ HDL ให้มากขึ้น
  4. ส่วนประกอบในชาช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การเผาผลาญพลังงาน

  1. ปัจจุบันมีการวิจัยชาเขียว พบว่ามีสารแคททีชินสูง ซึ่งช่วยในการเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมันซึ่งมีผลต่อการลดน้ำหนัก การวิจัยในคนพบว่า การดื่มชาเขียวช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกายและเพิ่มการใช้พลังงานมาก ขึ้น สูตรลดน้ำหนัก ให้ดื่มชาเขียววันละ 3 แก้ว จะช่วยเร่งระบบการเผาผลาญพลังงานและไขมันของร่างกายได้
  2. มีหลักฐานใหม่ๆ ที่แสดงว่า ชาเขียวสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ ผลการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเจนีวาในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พบว่าผู้ที่ดื่มทั้งสารสกัดคาเฟอีนและชาเขียว มีการเผาไหม้แคลอรี่มากกว่าคนที่ได้คาเฟอีนอย่างเดียว

สารอนุมูลอิสระ

  1. ชามีสรรพคุณเป็นตัวล้างพิษอย่างแรง สามารถทำลายสารอนุมูลอิสระได้ แม้ว่าจะยังคงไม่รู้กลไกที่แน่ชัด ผลจากการศึกษาพบว่าชาดำสามารถลดโคเลสเตอรอลลงได้ร้อยละ 4 ในส่วนขององค์การอนามัยโลกได้แนะนำว่า ควรดื่มชาในระหว่างอาหาร และเป็นที่ทราบกันในปัจจุบันว่าการดื่มชาเขียววันละ 4-5 ถ้วย จะทำให้สุขภาพดี มีอายุยืนและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคมะเร็งบางชนิด หลังจากดื่มชาประมาณ 30-50 นาที antioxidant activityในเลือดจะพุ่งพรวดขึ้นไปร้อยละ 41-48 และคงอยู่เช่นนั้นนานประมาณ 80 นาที การที่เลือดมี antioxidant activity สูงขึ้นนี้ ย่อมทำให้สารอนุมูลอิสระถูกขจัดไปเป็นจำนวนมาก
  2. สารต้านอนุมูลอิสระที่มีความเข้มข้นสูงในชาจะช่วยยับยั้งการเกิดโรคหลอด เลือดหัวใจและโรคมะเร็ง จากข้อมูลในปัจจุบันแนะนำว่าการบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลด การเกิดโรคหัวใจ จากการที่อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ จะไปยับยั้งขบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน อันจะนำไปสู่การลดการเกิดหนาตัวของผนังหลอดเลือด และลดการเกิดโรคหัวใจในที่สุด
  3. หลักฐานในปัจจุบันพบว่าชาเขียว ซึ่งมีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติในปริมาณสูง แม้ว่าในสารอาหารอื่นจะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เช่นเบต้าแคโรทีน (beta-carotene), วิตามินอี (tocopherols) และวิตามินซี (ascorbic acid) แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่าคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของโพลีฟีนอลในชาเขียวจะเหนือกว่า
  4. โพลีฟีนอลในใบชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เซลล์ที่มีการอักเสบจะสร้างออกซิแดนซ์ เช่น superoxide anion radicals ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น hydrogen peroxide โดย superoxide dismutase เป็นต้น ภายในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล hydrogen peroxide และ chloride จะถูกเปลี่ยนเป็น hypochlorous acid โดย myeloperoxidase เพื่อทําลายเชื้อแบคทีเรีย superoxide anion สามารถทําปฏิกิริยากับ nitric oxide ได้เป็น peroxynitrite ซึ่งเป็น nitrating และ oxidizing agent ที่สําคัญ โดยที่ hypochlorous acid และ peroxynitrite ต่างทําปฏิกิริยากับกรดอะมิโนชนิดไทโรซิน (tyrosine) ณ บริเวณที่เกิดการอักเสบ ดังนั้นโปลีฟีนอลจึงช่วยลดปริมาณของ reactive oxygen species และ reactive nitrogen species รอบๆ บริเวณที่เกิดการอักเสบ

มะเร็ง

  1. พบว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นการดื่มชาเขียววันละ 3 แก้ว ช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมอีกด้วย
  2. กลไกการป้องกันการเกิดมะเร็งได้แก่ ช่วยสลายสารพิษที่รับประทานเข้าไป เช่น nitrosamine, aflatoxin ป้องกันสารก่อมะเร็งไปจับกับดีเอ็นเอของเซลล์จึงป้องกันการเกิดมะเร็ง ป้องกันสารอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายดีเอ็นเอของเซลล์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่จะทำให้เซลล์กลายเป็นมะเร็ง
  3. รายงานการศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่แสดงว่า การดื่มชาเขียวช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งหลอดอาหาร ในหมู่ชาวจีนทั้งหญิง-ชายได้ร้อยละ 60

ฟันผุ

  1. ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุโดยออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus mutans และ Streptococcus sobbrinus ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน โดยการยับยั้ง glycosyl transferase activity และขัดขวางการสร้าง glucan ซึ่งปกติแล้วน้ำตาลซูโครสจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เมื่อทําปฏิกิริยากับ glucosyl transferase จะได้ glucan ซึ่งเป็นสารเหนียว glucan จะเกาะติดแน่นที่ฟัน ตัวเชื้อเองก็สามารถสร้าง glucan binding lectin ซึ่งจะทำให้เซลล์มาเกาะติดมากขึ้น ระหว่างที่มีกระบวนการสร้างและสลาย จะมีการสร้างกรดซึ่งทําลายเคลือบฟัน เป็นสาเหตุให้ฟันผุ ชาเขียวป้องกันฟันผุโดยทําให้ระดับกรดที่ tooth enamel ลดลง
  2. ช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดชาเขียวที่มีความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ช่วยทําให้สุขภาพช่องปากดี และ EGCG มีคุณสมบัติระงับกลิ่น จึงช่วยทําให้ลมหายใจสดชื่น
  3. ในใบชายังมีปริมาณแร่ธาตุฟลูออไรด์สูง เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง การแช่ถุงชาหรือใบชาไว้นาน 3 นาทีก่อนดื่ม ชาจะสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดฟันผุได้ถึงร้อยละ 95 จะเห็นได้ว่าการดื่มชาเขียวมีส่วนช่วยป้องกันฟันผุได้ ชาเขียวสามารถดื่มทั้งร้อนและเย็น อาจจะผสมมะนาว น้ำตาล หรือนม ก็ไม่ทำให้คุณภาพของชาเสียไป

ผลิตภัณฑ์ถนอมผิว

  1. ปัจจุบันเริ่มมีผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีส่วนผสมของชาเขียว ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาดับกลิ่นตัว หรือครีมบำรุงผิว วางขายในท้องตลาด
  2. การป้องกันผิวหนังจากแสงแดด จากการศึกษาในสัตว์และคน พบว่าเมื่อนำสารโพลีฟีนอลจากใบชา ทาที่ผิวหนัง พบว่าสามารถลดการอักเสบของผิวหนัง ลดการเจริญเติบโตเนื้องอก และลดการทำลายของดีเอ็นเอจากแสงแดด
  3. สูตรน้ำแร่ชาเขียว นำน้ำแร่มาต้มให้เดือด ใส่ชาเขียวแบบผง หรือใบชาลงไป อาจเพิ่มใบสะระแหน่สักนิด แล้วทิ้งไว้ให้เย็น หรือนำไปแช่ในตู้เย็น ถ้าใช้ใบชา ควรกรองเอาแต่น้ำ เทใส่ขวดสเปรย์ ใช้เป็นสเปรย์น้ำแร่ชาเขียว จะเพิ่มความชุ่มชื่นและความเปล่งปลั่งให้กับผิวหน้า ฉีดได้ทุกเวลาที่ต้องการความสดชื่น
  4. สูตรถนอมผิวรอบดวงตา ต้มชาเขียวกับน้ำเดือด แล้วนำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นจัด แล้วใช้สำลีชุบชาเขียวให้เปียกชุ่ม นำมาวางบริเวณเปลือกตา ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง จะช่วยลดร่องรอยความอ่อนล้าของผิวรอบดวงตา และยังลดการบวมของเปลือกตาและถุงใต้ตา ผิวจะนุ่มนวลและดูสดชื่นขึ้น

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ